ยุทธศาสตร์
การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีของเทศบาลได้ใช้การวิเคราะห์SWOTAnalysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
จุดแข็งของตำบล (S-Strengths)
- พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำการเกษตร
- เป็นแหล่งผลิตข้าวพื้นเมืองที่มีคุณภาพ
- เส้นทางคมนาคมและการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรมีความสะดวก
- ประชาชนส่วนใหญ่ขยันขันแข็งทำมาหากิน ไม่ต้องจ้างแรงงานอื่น
- ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ
- หมู่บ้านปลอดยาเสพติด และไม่มีอาชญากรรม
- ความพร้อมในเรื่องเครื่องมือหรือเครื่องทุ่นแรงทำการเกษตร
- ประชาชนประกอบอาชีพเสริมหลากหลายอาชีพ
- มีหน่วยงานราชการคอยช่วยเหลือบริการใกล้ชิดประชาชน
จุดอ่อนของตำบล (W-Weaknesses)
- พื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก ยาวนาน
- ขาดแคลนแหล่งน้ำ และระบบชลประทาน
- การประกอบอาชีพทางการเกษตรใช้ต้นทุนการผลิตสูงและผลผลิตน้อย
- ประชาชนมีรายได้น้อย และมีหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ
- ค่านิยมการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีในการทำการเกษตรทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ
- ประชาชนติดกับการบริโภคนิยม วัตถุนิยม และวัฒนธรรมนิยม
- ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ขาดความร่วมมือและความสามัคคีในเรื่องการพัฒนาและทำกิจกรรม
- ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดแคลนน้ำอุปโภค และน้ำบริโภคที่สะอาดปลอดภัย
- ชุมชนขาดพลังขับเคลื่อนการพัฒนา การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
- กระบวนการของกลุ่ม องค์กร กองทุนชุมชนไม่เข้มแข็ง
โอกาสทางสภาพแวดล้อมของตำบล(O-Opportunities)
- นโยบายการพัฒนาแหล่งน้ำและเรื่องการปลูกข้าวคุณภาพ
- นโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมภาคเกษตร
- แนวโน้มทิศทางผลผลิตทางการเกษตรขยายตัว/ราคาผลผลิตจะดีขึ้น
- กระแสสังคม การผลิตข้าวปลอดสารพิษ การบริโภคข้าวปลอดสารพิษ
- การให้ความสำคัญต่อการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม
- นโยบายรัฐบาลการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน
- กระแสการสร้างสุขภาพมากกว่าซ่อมสุขภาพ
อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมของตำบล(T-Threats)
- สภาพอากาศ ฝน น้ำ โรคระบาดพืช คาดเดายากไม่แน่นอน
- สถานการณ์การผลิตข้าวของโลกคาดการยาก การแข่งขันสูง
- การกำหนดราคา การแทรกแซง การควบคุมราคาสินค้าทางการเกษตรของรัฐบาล
- โครงการประกันราคา จำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล
- การส่งเสริมการส่งออกและใช้สินค้าทางการเกษตรไทยของรัฐบาล
- โครงการช่วยเหลือต่างจากทางภาครัฐ การแก้ปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาล
- การบริหารและจัดสรรงบประมาณการพัฒนาจากรัฐบาลไม่เพียงพอ
- มาตรการช่วยเหลือของรัฐไม่ชัดเจนแน่นอน หน่วยรับผิดชอบดำเนินการล่าช้า
- ต้นทุนทางการเกษตรมีแนวโน้มจะสูงขึ้นตลอดเวลา
- การส่งเสริมความรู้ เทคนิคเฉพาะทางการประกอบอาชีพ
- ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนาที่ไม่เป็นระบบ
- การส่งเสริมภาครัฐ ขาดข้อมูลเชิงรุก ล้มเหลวตลอดทุกกิจกรรมที่ส่งเสริม
- การป้องกัน การเกิด การแก้ไขปัญหาสาธารณภัยที่เกิดจากธรรมชาติ
การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ดาน | สถานการณ์ภาพแวดล้อม
ภายนอกที่เกี่ยวข้อง |
ขอบขายและปริมาณของปัญหา/ความต้องการ | พื้นที่เปาหมาย/ กลุ่มเป้าหมาย | ความคาดหวังและ แนวโนมอนาคต |
โครงสร้างพื้นฐาน | ขาดแคลนแหล่งน้ำในการเกษตรและน้ำประปาสำหรับอุปโภค-บริโภคยังไม่พอเพียงและยังไม่ได้มาตรฐาน | – แหล่งน้ำและน้ำประปาในการอุปโภค-บริโภค | – ในเขตเทศบาล | – ประชาชนมีแหล่งน้ำและมีน้ำประปาใช้อย่างพอเพียงมีคุณภาพตามมาตรฐานมากขึ้น |
ไฟฟ้าส่องสว่างทางและที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด | – ไฟฟ้า | – ทางและที่สาธารณะในเขตเทศบาล | – ทางและที่สาธารณะมีแสงสว่างเพียงพอประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมาและป้องกันการเกิดอาชญากรรมได้ | |
ประชาชนต้องการเส้นทางในการสัญจรไปมาเพิ่มมากขึ้นและเทศบาลไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากพื้นที่ยังไม่เป็นที่สาธารณะ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องเป็นที่สาธารณะ | – เส้นทางคมนาคม | – เส้นทางคมนาคม
ที่เป็นสาธารณะ และประชาชนมีความต้องการให้ดำเนินการ |
– มีเส้นทางในการคมนาคมเพียงพอและ ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมา
|
|
สาธารณสุข | มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคติดต่อ | – ด้านสาธารณสุข | – ในเขตเทศบาล | ในพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่โรคระบาด โรคติดต่อ |
ประชาชนกรอายุตั้งแต่ 35 ขึ้นไป ไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี | – ด้านสาธารณสุข | – ประชาชนในเขตเทศบาลที่อายุ 35 ขึ้นไป | – ประชาชน
ที่อายุ 35 ขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพทุกคน |
|
ประชาชนในพื้นที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เช่น เบาหวาน ความดัน | – ด้านสาธารณสุข | – ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วย | – ผู้ป่วยเรื้อรังโรคเบาหวาน ความดัน ลดลง
|
|
เศรษฐกิจ | ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ระยะทางในการขนส่งผลผลิตไกลจากแหล่งรับซื้อ | – ด้านพาณิชย์ | – เกษตรกรในพื้นที่ | – ผลผลิตมีราคาสูงขึ้น ตลาดรับซื้อมีเพียง ราคายุติธรรม |
ราคาสินค้าอุปโภค บริโภคมีราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง | – ด้านพาณิชย์ | – ประชาชนในพื้นที่ | – ราคาสินค้าอุปโภค และบริโภค เป็นธรรม |